Boucing Fuchsia Bow Tie Ribbon Animated Sparkly Christmas Bell Spinning Pink Star With Falling Stars 2

ยินดีต้อนรับ

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 28 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00


                สัปดาห์น้เป็นการสอบร้องเพลง ซึ่งดิฉันได้เพลง กินผักกันเถอะเรา มีเนื้อร้องดังนี้
                                                               
                                                              กินผักกันเถอะเรา
                                              บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
                                                     คะน้า กวางตุ้ง  ผักบุ้ง โหรพา 
                                                  มะเขือเทศสีดา ฝักทอง กะหล่ำปลี

                   หลังจากนั้นก็เเลกเปลี่ยนความคิดเห็นความรู้สึกซึ้งกันและกัน และปิดคอสการเรียนการสอนในภาคเรียนนี้...



       ขอบคุณน่ะค่ะอาจารย์ที่ไม่มองข้ามการเปลี่ยนแปลงของหนู ..ขอบคุณที่มองเห็นถึงความตั้งใจและขอบคุณสำหรับความรู้ที่อาจารย์มอบให้พวกหนู  หนูตั้งใจและพยายามมากขึ้นในภาคเรียนนี้ จะเอาเอมาครองสักครั้ง ขอให้ได้ทีเถ๊อะ..สาทุ ^^ รักษาสุขภาพน่ะค่ะอาจารย์ หวังว่าหนูคงได้มีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์อีกน่ะค่ะ  รักน่ะค่ะ อาจารย์ของหนู

การประเมิน
ประเมินตนเอง
วันนี้มาเรียนก่อนเวลา แต่งกายเรียบร้อย สอบร้องเพลงได้ 5  คะแนน แต่ยังขาดความมั่นใจไปนิดนึง แต่ก็สามารถผ่านมาได้อย่างสวยงาม ^^
ประเมินเพื่อน
เพื่อนมาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ทุกคนดูมีความตื่นเต้นในการสอบร้องเพลงเด็กแต่ทุกคนก็พยายามทำหน้าที่ของตนได้ดีแบบว่าพยายามสุดความสามารถค่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์ใจดีให้โอกาสเพื่อนที่ยังไม่ค่อยเเม่นในเนื้อเพลง ช่วยบอกเนื้อ หรือทำนองให้อยู่ตลอด

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 21 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00

       สัปดาห์นี้เรียนเรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะุคล(Individualized Education Program) 
IEP เป็นแผนที่ไม่ได้เขียนคนเดียวจะจัดทำกันหลายคน เช่น ครูประจำชั้น หมอ ผู้ปกครอง ผู้อำนวยการ เป็นต้น แผนจะผ่านการอนุมัติต้องผ่านตาของบุคคลเหล่านี้ก่อน  IEP จะเขียนได้เมื่อครูรู้รายละเอียดของเด็กอย่างชัดเจน เช่น นิสัยเด็กเป็นอย่างไร พ่อเเม่เป็นอย่างไร และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 

IEP ประกอบด้วย

  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุเด็กมีความจำเป็นต้องรับการริการพิเศษอะไร้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น (ยากที่สุดในการเขียนแผน IEP)
  • ระบุวันเดือนปี ที่เริ่มทำการสอนิและคาดคะเนการสิ้นสุดของเเผน (ต้องมีความชัดเจน)
  • วิธีประเมิน
ประโยชน์ต่อเด็ก

  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องเหมาะสม
  • ถ้าได้เข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู

  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงตามความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และไกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
การจัดทำแผน

  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้นและระยะยาว
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รัรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามีความเห็นต่างเพียงหนึ่งคน แผนจะไม่สามารถใช้ได้ ต้องผ่านการยินยอมของทุกฝ่าย)
การกำหนดจุดมุ่งหมาย

  • ระยะยาว   กำหนดจุดประสงค์ให้กว้าง แต่ชัดเจน  เช่น น้องเอกระโดดข้ามไม้ได้  น้องบีช่วยเหลือตนเองได้
  • ระยะสั้น    เป็นจุดมุ่งหมายที่ต่อยอดจากระยะยาว และต้องเขียนเป็นเชิงพฤติกรรมของเด็ก โดยมีหัวข้อดังนี้  ใคร  อะไร  เมื่อไหร่/ที่ไหน  ดีขนาดไหน 
                              ใคร                        =    จะสอนใคร
                              อะไร                      =   พฤติกรรมอะไร
                              เมื่อไหร่/ที่ไหน      =    เมื่อไหร่ ที่ไหนที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด
                              ดีขนาดไหน           =    พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

การใช้แผน  การย่อยงานให้กับเด็ก เป็นเเรื่องสำคัญคุณครูต้องย่อยงานเป็น
การประเมิน 

  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
*การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน


การทำแผน

  1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
  2. การจัดทำแผน
  3. การใช้แผน
  4. การประเมิน

ท้ายชั่วโมง อาจารย์ให้นักศึกษา แบ่งกลุ่มกันฝึกเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะุคคล เพื่อทดลองทำดูว่าเข้าใจไหม และสั่งการบ้านให้นักศึกษาไปเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเป็นงานเดี่ยว กำหนดส่ง วัน ที่ 18 พ.ค.


ประเมิน

ประเมินตนเอง

วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย จดบันทึกขณะอาจารย์สอน อาจจะสรุปใจความได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ครั้งหน้าจะพยายามจับใจความให้ชัดเจนมากขึ้นค่ะ ^^

ประเมินเพื่อน

เพื่อนเข้าเรียนตรงต่อเวลาให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี  มีจดบันทึกเกือบทุกคนแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย

ประเมินอาจารย์ 

อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีรูปแบบที่หลากหลายในการสอน สอนเข้าใจง่ายมีการยกตังอย่างที่นักศึกษาสามารถนึกภาพตามได้และสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ..




                    


















บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 14 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00



                                                                    วันหยุดสงกรานต์


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 7 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00


                                                                      ลากิจ


                                       

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 12 
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 31 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00




ไม่มีการเรียนการสอน กีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 11 
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 24 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00



                                                  ไม่มีการเรียนการสอน  สอบวัดความรู้


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 17 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00
สัปดาห์นี้ต่อยอดจากสัปดาห์ที่แล้วทักษะสุดท้ายทักษะที่ 3 ทักษะการชช่วยเหลือตนเองคือการให้อิสระกับเด็กทุกคนในการตัดสินใจไม่ต้องมีคนมาคอยสั่งหรือบอกให้ทำ
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด เช่น การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว เป็นต้น
การสร้างความอิสระ เด็กทุกคนอย่างทำทุกอย่างได้ด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นเด็กพิเศษหรือเด็กปกติเด็กมักจะเลียนแบบเด็กที่โตกว่าและถ้าเขาทำสำเร็จเด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง
หัดให้เด็กทำเอง  ครูควรเฝ้าดูอยู่ห่างๆ ควรช่วยในสิ่งที่เด็กร้องขอ และห้ามพูดเด็ดขาดว่า "หนูทำช้า"ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรอยู่ถ้าเด็กคนนึงเสร็จช้าทุกคนก็ต้องรอเพื่อให้เสร็จกิจกรรมไปพร้อมๆกัน
จะช่วยเมื่อไหร่ ในวันที่เด็กไม่สบาย เบื่อ หงุดหงิด เป็นต้น




ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ช่วงอายุ 2-6  ปี








ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

  • ครูต้องย่อยงานให้เป็น
  • เรียงลำดับขั้นตอน
เด็กพิเศษจำเป็นต้องบอกเป็นขั้นตอนแต่ถ้าเด็กปกติเขาจะสามารถคาดเดาได้บ้าง

สรุป

  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างด้วยตนเอง (ให้ได้มากที่สุด)
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ  (ย่อยให้เป็นและถูกขั้นตอน)
  • ความสำเร็จขั้นเล็กนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล (อย่าคาดหวังในผลสำเร็จ)
  • ช่วยใ้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ



กิจกรรมท้ายคาบ
                                                                 



การประเมิน
  
  ประเมินตัวเอง
  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึก ในสิ่งที่อาจารย์สอน มีหลุดคุยกะเพือนบ้าง  แต่ก็กลับมาตั้งใจเรียน
  
  ประเมินเพื่อน
  เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ส่วนน้อยที่มาสาย ทุกคนให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี  วันนี้เรียน     รวมทั้งรอบเช้าและบ่าย เลยทำให้เสียงดังหน่อยในเวลาสอน

  ประเมินอาจารย์
  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีเกมมันๆมาให้เล่นสนุกๆกันตลอด  มีกิจกรรมหลังการเรียนที่ผ่อนคลาย แต่งกาย   สุภาพเรียบร้อย