Boucing Fuchsia Bow Tie Ribbon Animated Sparkly Christmas Bell Spinning Pink Star With Falling Stars 2

ยินดีต้อนรับ

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

การจัดประสบการณ์การการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 24 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00 น.




สอบ Midterm


วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

การจัดประสบการณ์การการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00 น.


       สัปดาห์นี้ต่อยอดจากสัปดาห์ที่แล้ว

   

    สรุปองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยรวม

    ทัศนคติของครูที่มีต่อเด็กไม่ควรเพ่งเล็งเด็กว่าเป็นเด็กที่บกพร่องทางด้านใดด้านหนึ่งและไม่ควรเอาใจใส่เด็กเพียงคนใดคนหนึ่งจนเกินสมควร  จะทำให้เด็กคนอื่นๆเกิดคำถามว่าคุณครูทำไมอะไรๆก็ต้องเป็นเด็กคนนั้นคนเดียวตลอด จะทำให้เด็กคนอื่นๆเกิดอาการน้อยใจ
     การเข้าใจภาวะปกติว่าเด็กทุกคนนั้นค่อนข้างคล้ายกันมากกว่าต่างกันและคุณครูต้องพยายามปรับความคิดความรู้สึกหรือทัศนคติที่มีต่อเด็กให้เท่าเทียมกัน รู้จักเด็กหมดทุกคนและมองเด็กให้เป็นเด็ก มองถึงบุคลิก กริยาของเด็กและจดจำเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็กให้มากที่สุด เด็กจะรู้สึกดีและปลื้มที่ครูจำเขาได้และเมื่อครูจดจำเด็กได้ก็สามารถคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้าได้ และจะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้
    วุฒิภาวะของเด็กแต่ละช่วงวัยจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากเท่าไหร่ แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ แรงจูงใจ คนเป็นครูก็ต้องพยายามสร้างแรงจูงใจให้กับเด็ก เช่น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน กิจกรรมที่เกิดจากการระดมความคิดของเด็กเป็นต้น
     การสอนโดยบังเอิญเด็กพิเศษจะชอบมาก  คือ การตอบคำถามเมื่อเด็กสงสัยการสอนแบบนี้มักจะเกิดขึ้นขณะที่ครูจัดกิจกรรมเป็นส่วนใหญ่และการที่เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น  อุปกรณ์ที่ดีของเล่นที่ดีต้องไม่มีวิธีการล่นที่ตายตัว เช่น แป้งโดว์ บล็อก โดมิโน่  ของเล่นที่ตายตัวเช่น จับคู่ภาพ จิกซอร์ ตุ๊กตา 
      ตารางประจำวัน  เด็กพิเศษมักไม่ชอบให้เปลี่ยนกิจวัตรประจำวันของพวกเขา ข้อดีของตารางนี้ คือ เด็กทราบล่วงหน้าว่าเขาจะต้องทำอะไรบ้าง เด็กจะได้เตรียมความพร้อมและมั่นใจที่จะมาเรียน คนเป็นครูก็ต้องให้โอกาสเด็กไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กพิเศษเด็กทุกคนควรได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน
     
หมายเหตุ

* ความคงเส้นคงวา  ตอนต้นเทอมยังไง ปลายเทอมก็อย่างนั้น
* สีไม้ไม่เหมาะในกรใช้สอนเด็กปฐมวัย
* ห้องเรียนรวมต้องมีขีดจำกัดให้น้อยที่สุด
* การสอนแบบก้าวไปข้างหน้า คือ เด็กกระทำเองเป้นขั้นตอน
* การสอนแบบย้อนมาจากข้างหลัง คือ ครูทำให้เด็กดูและเด็กจะทำเองในขั้นตอนสุดท้าย





บรรยากาศในชั้นเรียน












การประเมิน

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงต่อเวลา  เเต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย มีการจดบันทึก ขณะที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน

เข้าเรียนตรงต่อเวลา  เเต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย มีคุยนอกเรื่องกันบ้างเล็กน้อย

ประเมินอาจารย์

เข้าสอนก่อนเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย 










วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

การจัดประสบการณ์การการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 10 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00 น.


  
   สัปดาห์นี้นักศึกษาทุกคนได้นัดหมายกัน เซอไพรส์วันเกิดให้กับอาจารย์ โดยการแกล้งมาเรียนสายยกคลาส ทำให้อาจารย์เกือบจะน้อยใจ ^_^ แต่ไม่งอลน่ะค่ะ นักศึกษาทุกคนตั้งใจมอบสิ่งนี้ให้กับอาจารย์ผูเป็นที่รัก  และขออวยพรให้อาจารย์มีความสุขมักมาก สมหวังในความรักและประสบความสำเร็จในชีวิต
สุขภาพแข็งแรง อย่าเจ็บอย่าจนน่ะค่ะ :D


ภาพบรรยากาศ









หลังจากเสร็จกิจกรรมแห่งความสุข อาจารย์ก็ได้แจกถุงมือให้กับนักศึกษา ใส่ไว้ในมือข้างที่ไม่ถนัดและวาดภาพมือของตนเองข้างที่ใส่ถุงมือเอาไว้ ให้เหมือนกับขของจริงมากที่สุด




     จากกิจกรรมนี้ สอนให้นักศึกษาทราบว่าสิ่งที่อยู่กับเรามาตลอดเราอาจจะจำลักษณะของมันได้ แต่ไม่สามารถบอกถึงรายละเอียดได้ชัดเจน เหมือนกับการสังเกตและจดบันทึก ณ ขณะนั้นจะทำให้เราสามารถบอกถึงรายละเอียดของสิ่งที่เห็นได้มากกว่าการจำและปล่อยทิ้งไว้แล้วนำไปบันทึกเช่นเดียวกับการจดบันทึกพฤติกรรมของของเด็กปฐมวัย คุณครูอาจจะจำลักษณะของเด็กแต่ละคนได้เห็นว่าวันหนึ่งเด็กทำอะไรไปบ้างแต่ไม่ได้จดบันทึกในขณะที่สังเกต บางครั้งอาจจะทำให้คุณครูลืมหรือสับสนกับเด็กแต่ละคน เพราะการจดบันทึกแต่ละครั้งใช่ว่าคุณครูจจะสังเกตเด็กเพียงคนเดียวทำให้เป็นการยากในการจดจำแล้วนำมาบันทึก


    หลังจาดเสร็จสิ้นกิจกรรมอาจารย์ก็ได้สอนให้นักศึกษาร้องเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย และตามด้วยกิจกรรมนันทนาการสนุกๆจากเพื่อนๆชั้นเรียน









ขอบคุณน่ะค่ะอาจารย์สำหรับความรู้ ความเป็นกันเอง และความใส่ใจในตัวนักศึกษาทุกคนอาจารย์จำรายละเอียดของนักศึกษาได้หมด ขอบคุณที่มองเห็นถึงความตั้งใจของพวกหนู รักอาจารย์นะค่ะ ^_^ 



การประเมิน

ประเมินตนเอง 

วันนี้มาเรียนพร้อมกับเพื่อนๆทั้ง 30 คน เพื่อเตรียมความพร้อมเซอไพรส์อาจารย์ ^_^ แต่งกายไม่เหมือนเพื่อนเนื่องจากมีเหตุขัดข้องนิดหน่อย จดบันทึกในสิ่งที่อาจารย์พูดในกิจกรรมวาดภาพมือของตัวเอง และการร้องเพลง

ประเมินเพื่อน

วันนี้เพื่อนๆพร้อมใจกันมอบความสุขให้กับอาจารย์ ทำกิจกรรมต่างๆที่อาจารย์มอหมายให้อย่างตั้งใจ และมีโชว์ดีดีมอบเป็นของขวัญวันเกิดให้กับอาจารย์

ประเมินอาจารย์

วันนี้อาจารย์มารอนักศึกษาเกือบงอลเลย ขอโทษน่ะค่ะ :D แต่งกายสุภาพน่ารักดูกลืนกับนักศึกษา อาจารย์เป็นกันเอง วันนี้ขอให้เป็นวันพิเศษของอาจารย์อีกวันนึงน่ะค่ะ..





:P  :D  :D  :D  :D  :D  :D  :D  :P






............................................................................................................






วันจันทร์ที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย


เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย

        
        เพลง ฝึกกายบริหาร                                                        เพลง กินผักกัน

ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายเเข็งแรง                                       กินผักกันเถอะเรา
   ฝึกกายบริหารทุกวันร่างกายเเข็งแรง                        บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
    รูปทรงสมส่วนคล่องแคล่วว่องไว                                    คะน้า กวางตุ้ง ผักบุ้ง โหรพา
    รูปทรงสมส่วนคล่องแคล่วว่องไว                               มะเขือเทศสีดา ฟักทอง กะหล่ำปลี


                 เพลง ผลไม้                                                                     เพลง ดอกไม้ 
         
        ส้มโอ เเตงโม แตงไทย                                                 ดอกไม้ต่างพันธุ์  สวยงามสดใส
         ลิ้นจี่ ลำใย องุ่น พุทรา                                                  เหลือง แดง ม่วง มีแสดขาวมพู
              เงาะ ฝรั่ง มังคุด                                       
         กล้วย ละมุด น้อยหน่า
         ขนุน มะม่วง นานาพันธุ์



เพลง จ้ำจี้ดอกไม้

จ้ำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี จำปา มะลิ พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น  กระดังงา
เข็ม แก้ว ลัดดา เฟื่องฟ้า ราตรี




วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

การจัดประสบการณ์การการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00 น.



หมายเหตุ  สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระไปเป็นวิทยากร แต่อาจารย์ได้สั่งงานให้นักศึกษาเคลียบล็อกของตนเองให้เรียบร้อย

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

การจัดประสบการณ์การการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 27 เดือนมกราคม พ.ศ.2558

กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00 น.


        สัปดาห์นี้เป็นการเรียนรู้เรื่อง รูปแบบการจัดการศึกษาและบทบาทของครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม มีเนื้อหาดังนี้

รูปแบบการจัดการศึกษา
  • การศึกษาปกติทั่วไป Regular Education  คนปกติทั่วไป เมื่อ 20 กว่าปีที่แล้วมีแค่การศึกษาแบบนี้แบบเดียว
  • การศึกษาพิเศษ special Education  เด็กพิเศษ รัฐบาลได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของเด็กพวกนี้มากขึ้น
  • การศึกษาแบบเรียนร่วม integrated  Education 
  • การศึกษาแบบเรียนรวม inclusive  Education 

การเรียนร่วมบางเวลา(lntegration)

(เข้าไปเรียนแค่ ช่วงใดช่วงหนึ่ง)

- เด็กพิเศษมีโอกาสได้แสดงออกและมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
- เด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมากจึงไม่อาจ
  เรียนร่วมเต็มเวลาได้
- เด็กพิเศษทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวได้ง่ายและเป็นกิจกรรมยอดฮิต

 การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
  
(เรียนตั้งแต่เช้าถึงเย็น)

- เป็นการจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด้กอยู่ในโรงเรียน
- เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
- ระดับอาการระดับน้อยหรืออาจจะปกติในระดับใดระดับหนึ่ง

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (lnclusive Education)

- รับเด็กเข้าเรียนร่วมตั้งแต่เริ่มเข้าการศึกษา 
- จัดให้มีความต้องการพิเศษตามความต้องการของบุคคล
- เด็กพิเศษจะไม่ได้สังกัดอยู่ในความดูแลของศูนย์พิเศษ

Wilson,2007

- การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกันเป็นหลัก
- การสอนที่ดีเป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน


ปรัชญาของการเรียนรวม

การศึกษาแบบเรียนรวมเป็นการศึกษาของทุกคน

'Inclusive  Education is Education for all
 It involves receiving people
at the beginning of their  education,
with provision of additional services
needed by each individual"

การศึกษาเเบบเรียนรวมเป็นการศึกษาสำหรับเด็กทุกคน
และเด็กทุกคนจะต้องได้รับการศึกษาตั้งเเต่ขั้นต้น 
และไม่ลืมว่าเด็กเเต่ละคนมีความต้องการที่เเตกต่างกันเฉพาะบุคคล  
คนเป็นครูต้องเข้าใจและเปิดใจด้วย  คนเป็นครูต้องเปิดโอกาสทุกด้าน 
 เพราะจะทำให้เด็กเกิดการพัฒนาเต็มตามศักยภาพ


ความแตกต่างของการเรียนรวมและการเรียนร่วม

เด็กเรียนร่วมครูการศึกษาพิเศษจะเป็นผู้ดูแลเด็ก จะพาเด็กไปทำกิจกรรมแค่บางเวลาที่คุณครูเห็นสมควรจนเสร็จกิจกรรมก็พาเด็กกลับ แต่การศึกษาแบบเรียนรวมเด็กจะเข้าเรียนในโรงเรียนปกติตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนจนปิดภาคเรียนเหมือนเด็กปกติ




 บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม

1.ครูไม่ควรวินิจฉัยเด็ก  หมายถึง  การตัดสินใจโดยดูจากอาการ หรือสัญญาณบางอย่างที่เด็กแสดงออกมา
2.ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทของเด็ก  เพราะจะทำให้เกิดผลเสียมากกว่าผลดี   ห้ามตั้งฉายา   ห้ามดูถูกเด็ก
3.ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าบางอย่างของเด็กผิดปกติ  เพราะจะช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยเด็กให้เกิดการพัฒนา

หน้าที่ของครู / สิ่งที่ครูต้องทำ

- ครูสามารถชี้ให้เด็กเห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
- ครูให้คำแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
- ครูสังเกตุเด็กอย่างมีระบบ
- ครูจดบันทึกพฤติกรรมเป็นช่วงๆ ของเด็กตามความจริง

การสังเกตุอย่างเป็นระบบหมายถึง  การสังเกตุเป็นประจำ  ไม่ใช่สังเกตุจากตาเปล่า  ครูต้องอยู่กับเด็กตลอดเวลา  อยู่ทั้งวัน
การตรวจสอบหมายถึง  ครูจะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร  เพื่อเป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กได้ดีขึ้น   และครูสามารถบอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ 

ข้องควรระวังในการปฎิบัติ  

1.ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
2.ครูประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
3.พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฎให้เห็นเสมอ

การบันทึกการสังเกตมี  3  ประเภทคือ

1.การนับอย่างง่ายๆ  หมายถึง  นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม  กี่ครั้งในเเต่ละวัน กี่ครั้งในเเต่ละชั่วโมง   ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม    เช่น การกระทืบเท้า  การกระโดด

2.การนับแบบต่อเนื่อง  หมายถึง  ให้รายละเอียดได้มาก   เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง  หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง  โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ

3.การบันทึกไม่ต่อเนื่อง  หมายถึง  บันทึกลงบัตรเล็กๆ  เป็นการนับสั้นๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของเด็กแต่ละวันในช่วงเวลาหนึ่ง 


   หลังจากเรียนเนื้อหาเสร็จอาจารย์ก็ได้นักศึกษาวาดภาพเหมือนของดอกชบา และอธิบายใต้ภาพในสิ่งที่นักศึกษาเห็นและคิด 




ภาพตัวอย่าง



วาดเอง


   จากการวาดภาพนี้อาจารย์จะสื่อให้นักศึกษาเห็นว่า การบันทึกเราควรบันทึกจากที่สิ่งที่เราเห็นจริง 
ไม่ใช่การจินตนาการเพ้อฝัน ควรบันทึกจากสิ่งที่เห็น หรือบันทึกจากความเป็นจริงนั่นเอง


การประเมิน

ประเมินตนเอง

วันนี้แต่งกายเรียบร้อย เข้าเรียนก่อนเวลา จดบันทึกเนื้อหาที่อาจารย์สอน ช่วงๆหลังมีสมาธิหลุดไปบ้างแต่ก็สามารถกลับมาตั้งใจเรียนได้ และสัปดาห์นี้อัพบล็อกช้าไปหน่อย ต้องขอโทษอาจารย์ด้วยเนื้องจากมีเหตุติดขัดนิดหน่อย สัปดาห์หน้าจะปรับปรุงตัวค่ะ 

ประเมินเพื่อน

เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ส่วนน้อยที่มาสาย ทุกคนตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี

ประเมินอาจารย์

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีแนวการสอนที่สามารถทำให้นักศึกษาทำความเข้าใจได้ง่ายแต่งการสุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะอ่อนหวานน่าฟัง และมีเรื่องเล่ามาเล่าสู่กันฟังกับนักศึกษาตลอด