Boucing Fuchsia Bow Tie Ribbon Animated Sparkly Christmas Bell Spinning Pink Star With Falling Stars 2

ยินดีต้อนรับ

วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 16
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 28 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00


                สัปดาห์น้เป็นการสอบร้องเพลง ซึ่งดิฉันได้เพลง กินผักกันเถอะเรา มีเนื้อร้องดังนี้
                                                               
                                                              กินผักกันเถอะเรา
                                              บวบ ถั่วฝักยาว ผักกาดขาว แตงกวา
                                                     คะน้า กวางตุ้ง  ผักบุ้ง โหรพา 
                                                  มะเขือเทศสีดา ฝักทอง กะหล่ำปลี

                   หลังจากนั้นก็เเลกเปลี่ยนความคิดเห็นความรู้สึกซึ้งกันและกัน และปิดคอสการเรียนการสอนในภาคเรียนนี้...



       ขอบคุณน่ะค่ะอาจารย์ที่ไม่มองข้ามการเปลี่ยนแปลงของหนู ..ขอบคุณที่มองเห็นถึงความตั้งใจและขอบคุณสำหรับความรู้ที่อาจารย์มอบให้พวกหนู  หนูตั้งใจและพยายามมากขึ้นในภาคเรียนนี้ จะเอาเอมาครองสักครั้ง ขอให้ได้ทีเถ๊อะ..สาทุ ^^ รักษาสุขภาพน่ะค่ะอาจารย์ หวังว่าหนูคงได้มีโอกาสได้เรียนกับอาจารย์อีกน่ะค่ะ  รักน่ะค่ะ อาจารย์ของหนู

การประเมิน
ประเมินตนเอง
วันนี้มาเรียนก่อนเวลา แต่งกายเรียบร้อย สอบร้องเพลงได้ 5  คะแนน แต่ยังขาดความมั่นใจไปนิดนึง แต่ก็สามารถผ่านมาได้อย่างสวยงาม ^^
ประเมินเพื่อน
เพื่อนมาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ทุกคนดูมีความตื่นเต้นในการสอบร้องเพลงเด็กแต่ทุกคนก็พยายามทำหน้าที่ของตนได้ดีแบบว่าพยายามสุดความสามารถค่ะ
ประเมินอาจารย์
อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์ใจดีให้โอกาสเพื่อนที่ยังไม่ค่อยเเม่นในเนื้อเพลง ช่วยบอกเนื้อ หรือทำนองให้อยู่ตลอด

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 15


                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 15
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 21 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00

       สัปดาห์นี้เรียนเรื่อง โปรแกรมการศึกษาเฉพาะุคล(Individualized Education Program) 
IEP เป็นแผนที่ไม่ได้เขียนคนเดียวจะจัดทำกันหลายคน เช่น ครูประจำชั้น หมอ ผู้ปกครอง ผู้อำนวยการ เป็นต้น แผนจะผ่านการอนุมัติต้องผ่านตาของบุคคลเหล่านี้ก่อน  IEP จะเขียนได้เมื่อครูรู้รายละเอียดของเด็กอย่างชัดเจน เช่น นิสัยเด็กเป็นอย่างไร พ่อเเม่เป็นอย่างไร และสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็ก 

IEP ประกอบด้วย

  • ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
  • ระบุเด็กมีความจำเป็นต้องรับการริการพิเศษอะไร้าง
  • การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
  • เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น (ยากที่สุดในการเขียนแผน IEP)
  • ระบุวันเดือนปี ที่เริ่มทำการสอนิและคาดคะเนการสิ้นสุดของเเผน (ต้องมีความชัดเจน)
  • วิธีประเมิน
ประโยชน์ต่อเด็ก

  • ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
  • ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
  • ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องเหมาะสม
  • ถ้าได้เข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู

  • เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงตามความสามารถและความต้องการของเด็ก
  • เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
  • ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
  • เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
  • ตรวจสอและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง

  • ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
  • ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
  • เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และไกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
การจัดทำแผน

  • ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • กำหนดจุดมุ่งหมายระยะสั้นและระยะยาว
  • กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
  • จะต้องได้รัรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามีความเห็นต่างเพียงหนึ่งคน แผนจะไม่สามารถใช้ได้ ต้องผ่านการยินยอมของทุกฝ่าย)
การกำหนดจุดมุ่งหมาย

  • ระยะยาว   กำหนดจุดประสงค์ให้กว้าง แต่ชัดเจน  เช่น น้องเอกระโดดข้ามไม้ได้  น้องบีช่วยเหลือตนเองได้
  • ระยะสั้น    เป็นจุดมุ่งหมายที่ต่อยอดจากระยะยาว และต้องเขียนเป็นเชิงพฤติกรรมของเด็ก โดยมีหัวข้อดังนี้  ใคร  อะไร  เมื่อไหร่/ที่ไหน  ดีขนาดไหน 
                              ใคร                        =    จะสอนใคร
                              อะไร                      =   พฤติกรรมอะไร
                              เมื่อไหร่/ที่ไหน      =    เมื่อไหร่ ที่ไหนที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด
                              ดีขนาดไหน           =    พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน

การใช้แผน  การย่อยงานให้กับเด็ก เป็นเเรื่องสำคัญคุณครูต้องย่อยงานเป็น
การประเมิน 

  • โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
  • ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล
*การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน


การทำแผน

  1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
  2. การจัดทำแผน
  3. การใช้แผน
  4. การประเมิน

ท้ายชั่วโมง อาจารย์ให้นักศึกษา แบ่งกลุ่มกันฝึกเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะุคคล เพื่อทดลองทำดูว่าเข้าใจไหม และสั่งการบ้านให้นักศึกษาไปเขียนแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลเป็นงานเดี่ยว กำหนดส่ง วัน ที่ 18 พ.ค.


ประเมิน

ประเมินตนเอง

วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย จดบันทึกขณะอาจารย์สอน อาจจะสรุปใจความได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ครั้งหน้าจะพยายามจับใจความให้ชัดเจนมากขึ้นค่ะ ^^

ประเมินเพื่อน

เพื่อนเข้าเรียนตรงต่อเวลาให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี  มีจดบันทึกเกือบทุกคนแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย

ประเมินอาจารย์ 

อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีรูปแบบที่หลากหลายในการสอน สอนเข้าใจง่ายมีการยกตังอย่างที่นักศึกษาสามารถนึกภาพตามได้และสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ..




                    


















บันทึกอนุทินครั้งที่ 14


                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 14
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 14 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00



                                                                    วันหยุดสงกรานต์


บันทึกอนุทินครั้งที่ 13


                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 13
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 7 เดือนเมษายน พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00


                                                                      ลากิจ


                                       

บันทึกอนุทินครั้งที่ 12


                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 12 
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 31 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00




ไม่มีการเรียนการสอน กีฬาสีคณะศึกษาศาสตร์

บันทึกอนุทินครั้งที่ 11


                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 11 
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 24 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00



                                                  ไม่มีการเรียนการสอน  สอบวัดความรู้


บันทึกอนุทินครั้งที่ 10


                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 10 
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 17 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00
สัปดาห์นี้ต่อยอดจากสัปดาห์ที่แล้วทักษะสุดท้ายทักษะที่ 3 ทักษะการชช่วยเหลือตนเองคือการให้อิสระกับเด็กทุกคนในการตัดสินใจไม่ต้องมีคนมาคอยสั่งหรือบอกให้ทำ
เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด เช่น การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว เป็นต้น
การสร้างความอิสระ เด็กทุกคนอย่างทำทุกอย่างได้ด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นเด็กพิเศษหรือเด็กปกติเด็กมักจะเลียนแบบเด็กที่โตกว่าและถ้าเขาทำสำเร็จเด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง
หัดให้เด็กทำเอง  ครูควรเฝ้าดูอยู่ห่างๆ ควรช่วยในสิ่งที่เด็กร้องขอ และห้ามพูดเด็ดขาดว่า "หนูทำช้า"ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรอยู่ถ้าเด็กคนนึงเสร็จช้าทุกคนก็ต้องรอเพื่อให้เสร็จกิจกรรมไปพร้อมๆกัน
จะช่วยเมื่อไหร่ ในวันที่เด็กไม่สบาย เบื่อ หงุดหงิด เป็นต้น




ทักษะการช่วยเหลือตนเอง ช่วงอายุ 2-6  ปี








ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง

  • ครูต้องย่อยงานให้เป็น
  • เรียงลำดับขั้นตอน
เด็กพิเศษจำเป็นต้องบอกเป็นขั้นตอนแต่ถ้าเด็กปกติเขาจะสามารถคาดเดาได้บ้าง

สรุป

  • ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างด้วยตนเอง (ให้ได้มากที่สุด)
  • ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ  (ย่อยให้เป็นและถูกขั้นตอน)
  • ความสำเร็จขั้นเล็กนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล (อย่าคาดหวังในผลสำเร็จ)
  • ช่วยใ้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
  • เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ



กิจกรรมท้ายคาบ
                                                                 



การประเมิน
  
  ประเมินตัวเอง
  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึก ในสิ่งที่อาจารย์สอน มีหลุดคุยกะเพือนบ้าง  แต่ก็กลับมาตั้งใจเรียน
  
  ประเมินเพื่อน
  เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ส่วนน้อยที่มาสาย ทุกคนให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี  วันนี้เรียน     รวมทั้งรอบเช้าและบ่าย เลยทำให้เสียงดังหน่อยในเวลาสอน

  ประเมินอาจารย์
  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีเกมมันๆมาให้เล่นสนุกๆกันตลอด  มีกิจกรรมหลังการเรียนที่ผ่อนคลาย แต่งกาย   สุภาพเรียบร้อย 









วันพฤหัสบดีที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 9


                                                                   บันทึกอนุทินครั้งที่ 9 
                                    การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                                   วันอังคารที่ 10 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558
                                                             กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00



 เริ่มต้นชั่วโมงเรียนโดยการพูดคุยถึงเรื่องการสอบบรรจุ สิ่งที่นักศึกษาต้องเตรียมความพร้อมไว้ก่อน เช่น  

  • พ.ร.บ การศึกษา 
  • ภาค ก ด่านเเรกของการสอบบรรจุ คือความรู้ทั่วไป เช่น นายกฯคนปัจจุบันคนที่เท่าไหร่  สถานการณ์   บ้านเมือง EDUC ทั้งหมด
  • ภาค ข ด่านที่ 2 ศาสตร์วิชาเอกของเเต่ละวิชา 
  • สอบสัมภาษณ์ สังกัด กทม จะมีกรรมการสามคน สพฐ กรรมการห้าคน
          สรุปองค์ความรู้โดยรวมด้วยเอง

          สัปดาห์นี้การเรียนการสอนจะต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว คือ การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ ทักษะที่ 2 ทักษะด้านภาษา 
   
ห้องเรียนที่จะส่งเสริมทักษะด้านภาษาจะต้องเป็นเช่นไร ?
  • ต้องมีตัวหนังสือปรากฏอยู่ในห้องเยอะๆ
  • การร้องเพลง                                                                                                         
  • การเล่านิทาน                                                                                             
  • การเล่นทบาทสมมุติ
การวัดความสามารถทางภาษา
  • เด็กเข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
  • ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม                                                             
  • ถามหาสิ่งต่างๆไหม
  • บอกเล่าเหตุการณ์สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
  • ใช้คำศัพย์ของตัวเองกับคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
  • การพูดตกหล่น ออกเสียงไม่ครบ เช่น จิ้งจก เป็น จกจก
  • การใช้เสียงหนึ่งแทนเสียงหนึ่ง
  • ติดอ่าง
* เด็กอนุบาลโดยพื้นฐานแล้วยังไงเขาก็ยังพูดไม่ชัดมากนัก

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
      
        ถ้าน้องพูดผิดหรือติดขัดอะไรก็ตามแต่ คุณครูอย่าไปทักท้วง ปล่อยให้เขาพูดเพราะถ้าเราไปขัดจะทำให้เด็กไม่กล้าพูดอีก และคำพูดที่คุณครูห้ามพูดกับเด็กเลยคือ การบอกให้เด็กพูดช้าๆ พูดชัดๆ ห้ามเด็ดขาด ที่สำคัญไม่ควรเปรียบเทียบเด็กกับเด็กคนอื่น ในบางครั้งเด็กที่พูดไม่ชัดอาจจะทำให้เกิดการบกพร่องทางการได้ยินด้วย



ทักษะพื้นฐานทางภาษา

  • ทักษะการรับรู้ภาษา
  • การแสดงออกทางภาษา
  • การสื่อความหมายโดยไม่ใ้คำพูด
*การแสดงออกทางด้านภาษาของเด็กพิเศษมักจะไม่ออกจากการพูดแต่จะแสดงออกเป็นท่าทาง






ความรับผผิดชอบของครูปฐมวัย

  • การรับรู้ภาษษมาก่อนการแสดงออกทางภาษา
  • ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด กิริยาท่าทาง การออกเสียง การเปบ่งเสียง
  • ให้เวลาเด็กได้พูด
  • คอยให้เด็กตอบ (ชีแนะแนวทางหากจำเป็น)
  • เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
  • เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
  • ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
  • กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตนเอง (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า) 
  • เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าการพูด
  • ใช้คำถามปลายเปิด
  • เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
  • ร่วมกิจกรรมกับเด็ก
* คนเป็นครูต้องเข้าใจพัฒนาการทางภาษาของเด็กเป็นอย่างดี



จากภาพการปฏิบัติของครูคือ..
  1. เข้าไปถามเด็ก "หนูทำอะไรอยู่ค่ะ"
  2. เมื่อเด็กไม่ตอบให้ถามอีกครั้งว่า "หนูติดกระดุมเสื้อ / สวมผ้ากันเปื้อน อยู่ใช่ไหม"
  3. เมื่อเด็กยังไม่ตอบให้ถามอีกครั้งว่า "หนูติดกระดุมเสื้อ / สวมผ้ากันเปื้อนอยู่ใช่ไหม"
  4. เมื่อเด็กยังนิ่งให้เฉย ให้คุณครูย้ำอากับกริยาที่เด็กกำลังกระทำอยู่
  5. ถ้าหากน้องยังคงไม่ตอบ คุณครูก้อเข้าไปช่วยน้อง
*คุณครูพยายามชวนน้องคุยในสิ่งที่น้ิงกำลังทำอยู่ให้ได้มากที่สุด กระตุ้นให้เด็กเกิดการทักษะการพูดให้ได้มากที่สุด

กิจกรรมท้ายคาบ

กิจกรรม ภาพบำบัด



กิจกรรมนี้ ช่วยส่งเสริมให้เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ การใช้กล้ามเนื้อมือ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และที่สำคัญของกิจกรรมนี้คือ ฝึกให้เด็กมีสมาธิ มากขึ้น

บรรยากาศในชั้นเรียน




วันนี้เรียนรวมกันสองเซ็ก  เนื่องจากช่วงบ่ายอาจารย์ติดธุระ สนุกดี ครื่นเครง แต่เสียงดังไปหน่อย ^^

   ประเมิน
  
  ประเมินตัวเอง
  วันนี้เข้าเรียนตรงเวลา มีการจดบันทึก ในสิ่งที่อาจารย์สอน มีหลุดคุยกะเพือนบ้าง  แต่ก็กลับมาตั้งใจเรียน
  
  ประเมินเพื่อน
  เพื่อนมาเรียนตรงเวลา ส่วนน้อยที่มาสาย ทุกคนให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี  วันนี้เรียน     รวมทั้งรอบเช้าและบ่าย เลยทำให้เสียงดังหน่อยในเวลาสอน

  ประเมินอาจารย์
  อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา มีเกมมันๆมาให้เล่นสนุกๆกันตลอด  มีกิจกรรมหลังการเรียนที่ผ่อนคลาย แต่งกาย   สุภาพเรียบร้อย พูดจาไพเราะ ... (วันนี้ อาจารย์ดูไม่ค่อยแฮปปี้เท่าไหร่ ซึมๆ  สู้ๆน่ะค่ะ อาจารย์ ^_^ )








วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

บันทึกอนุทินครั้งที่ 8 
การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
วันอังคารที่ 03 เดือนมีนาคม พ.ศ. 2558
กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00

สรุปองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยรวม

กิจกรรมแรกของการเรียนคือ กิจกรรมนันทนาการ เพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาลุกตื่นจากอาการง่วงซึม :D และเรียกเสียงหัวเราะได้เป็นอย่างดี กิจกรรมนี้มีชื่อว่า รถไฟเหาะแห่งชีวิต  :)
   
เนื้อหาที่เรียน 

ทักษะทางสังคม ทักษะนี้สภาพแวดล้อมไม่ค่อยส่งผลกระทบมากนักแต่จะขึ้นอยู่กับตัวเด็กเอง
กิจกรรมการเล่น  เด็กพิเศษเวลาเล่นของเล่นจะมีจุดเด่นออกมาคือการมองเพื่อนแล้วเลียนแบบ  ในช่วงแรกๆเด็กพิเศษจะไม่มองคนอื่นเป็นเพื่อนแต่จะมองเห็นเป็น อะไรที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง พฤติกรรมเหล่านี้พบบ่อยในเด็กออทิสติกกับเด็กสมาธิสั้น เช่น เด็กออทิสติกจะเดินออกทางประตูแต่มีเพื่อนคนนึงขวางอยู่ ถ้าเป็นเด็กปกติก็จะบอกเพื่อนขอทางหน่อย หรือเดินหลบไปอีกทาง แต่เด็กพิเศษเขาจะเดินชนเพราะเขามองเพื่อนเป็นสิ่งกีดขวางที่เขาต้องกำจัดทิ้ง หรืออีกกรณีหนึ่งคือมีกระเป๋าหรือสิ่งกีดขวางอะไรขวางทางเดินเขาเด็กพิเศษจะเดินข้ามหรือเดินเหยียบไปเลย
ยุทธศาสตร์การสอน  ครูต้องสอนอย่างมีระบบและจดบันทึกอยู่เสมอและทำแผน IEP แผน IEP ไม่ใช่แผนที่เขียนเฉพาะเด็กพิเศษเท่านั้นแต่สามารถเขียนได้กับเด็กทุกคน
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง  การเล่นเป็นกลุ่มไม่ควรมีเด็กเกิน 4 คน 1 ใน 4 นั้นควรจะมีเด็กพิเศษอยู่ 1 พอ เด็กพิเศษจะไม่ชอบจับกลุ่มเล่นกันเองมักจะเล่นกับเด็กปกติทำให้ง่ายต่อการจับกลุ่มเด็ก การจัดกิจกรรมกลุ่มแบบนี้ทำให้เด็กปกติเปรียบเสมือนครูของเขา
ครูควรปฎิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น  ครูควรมีสายตาและรอยยิ้มที่อบอุ่นให้กับเด็ก  ไม่ชมเชยหรือเยินยอเด็กจนเกินไป เมื่อเด็กแหงนหน้ามามองครูครูควรที่จะยิ้มหวานให้กับเด็กก็พอเพื่อเป็นกำลังใจเขา ไม่ต้องไปสร้างแรงเสริมให้เค้าจนเกินไป
การเล่นของเด็ก  ครูควรที่จะทะยอยให้ของเล่นแก่เด็กหรือไม่ก็อย่างละสองแล้วค่อยทะยอยนำชิ้นอื่นๆมาใส่เรื่อยๆเพื่อให้เด็กไม่เกิดอาการเบื่อง่าย แต่ของเล่นที่นำมาให้เด็กเล่นไม่ควรน้อยเกินไปหรือเยอะจนเกินไป ค่อยๆทะยอยสักครึ่งหนึ่งของจำนวนเด็กที่เล่นเพื่อให้เด็กได้สลับสับเปลี่ยนการเล่นและครูต้องบอกถึงกติกาการเล่นก่อนเเละการนำของเล่นมาเเจกให้เด็กเล่นนั้นควรวางของเล่นไว้ตรงกลางไม่ควรเลือกให้เด็กคนใดคนหนึ่ง

ข้อความสำคัญ

* เด็กออทิสติกไม่ว่าครูจะจัดสภาพแวดล้อมหรือมุมต่างๆให้สวยงามมากแค่ไหนแต่ถ้าเด้กออทิสติกไม่อยากจะเข้าเล่นเขาก็ไม่เข้า
* เด็กพิเศษที่ครูสามรถให้ความช่วยเหลือได้ดีที่สุดคือ การประคองมือ  การสัมผัสเด็กสำคัญมากสำหรับเด็กพิเศษ
* ปรัชญาของห้องเรียนรวมคือ เด็กทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันไม่มีอภิสิทธิ์เหนือใคร เเละห้ามเอาเด็กพิเศษมาเป็นข้ออ้างในการมีสิทธิเหนือคนอื่น...


Post  test : ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนได้อย่างไรบ้าง
อธิบาย    : ส่งเสริมการเล่นเป็นกลุ่ม และกลุ่มละไม่เกิน 4 คน 1 ใน 4 คนนั้นควรมีเด็กพิเศษอยู่เพียง 1 คนเท่านั้นเพื่อเป็นการให้เด็กปกติเป็นช่วยสอนเด็กพิเศษซึ่งเด็กปกติจะเปรียบเสมือนครูของเด็กพิเศษคนนั้น ครูเป็นบุคคลสำคัญคนนึงที่จะเป็นคนพูดให้เด็กคนอื่นๆยอมรับและนำเพื่อนเข้ามาร่วมเล่นด้วยกันในกลุ่ม และไม่ควรให้อภิสิทธิ์เด็กพิเศษเหนือกว่าเด็กคนอื่นๆ ^_^


กิจกรรม : ให้นักศึกษาจับคู่กัน อาจารย์แจกกระดาษให้คู่ละ 1 แผ่น สี 2 แท่ง ให้คนนึงระบายจุด อีกคนวาดเส้น ประกอบกับเสียงเพลงที่อาจารย์นำมา โดยให้คนที่วาดเส้น ก็วาดตามเสียงเพลงไปเรื่อยๆอีกคนนึงก็จุดตามที่เพื่อนวาดเส้นที่เป็นวงกลมจนเพลงจบ แล้วโชว์ผลงานของตนเองให้เพื่อนๆและอาจารย์จากนั้นก็ต่อยอดจากรูปภาพที่ใต้มาเมื่อกี้นี้ สามารถสร้างสรรค์ออกมาเป็นรูปอะไรได้บ้าง...





ผลงานที่ได้จากเพื่อนๆทุกคู่







       กิจกรรมข้างต้นนี้ช่วยส่งเสริมเด็กในเรื่องของการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ฝึกสมาธิ การคิดอย่างสร้างสรรค์ มีจินตนาการ การทำงานเป็นทีมและเป็นอีกกิจกรรมที่ทำให้เด็กรู้สึกผ่อนคลาย มีจิตใจที่แจ่มใส ร่าเริง มีความสุขในการทำกิจกรรม ...^_^







เพลงสำหรับเด็กปฐมวัย



เพลง  ดวงอาทิตย์

ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรื่องรอง  ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า  บ่งเวลาว่ากลางวัน


เพลง  ดวงจันทร์

ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน


เพลง  ดอกมะลิ

ดอกมะลิ กลับขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ


เพลง ดอกกุหลาบ

กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีสมเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดัไว้ในแจกัน

เพลง  นกเขาขัน

ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังสิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู 


เพลง รำวงดอกมะลิ

รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นื่นใจจริงเอย







การประเมิน


ประเมินตนเอง

วันนี้เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย จดบันทึกขณะอาจารย์สอน อาจจะสรุปใจความได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ครั้งหน้าจะพยายามจับใจความให้ชัดเจนมากขึ้นค่ะ ^^

ประเมินเพื่อน

เพื่อนเข้าเรียนตรงต่อเวลาให้ความร่วมมือในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี  มีจดบันทึกเกือบทุกคนแต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย

ประเมินอาจารย์ 

อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีรูปแบบที่หลากหลายในการสอน สอนเข้าใจง่ายมีการยกตังอย่างที่นักศึกษาสามารถนึกภาพตามได้และสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายขึ้น ..





วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 7


บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

การจัดประสบการณ์การการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 24 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00 น.




สอบ Midterm


วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทินครั้งที่ 6


บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

การจัดประสบการณ์การการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

วันอังคารที่ 17 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2558

กลุ่ม 103 เวลา 14.10-16.00 น.


       สัปดาห์นี้ต่อยอดจากสัปดาห์ที่แล้ว

   

    สรุปองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยรวม

    ทัศนคติของครูที่มีต่อเด็กไม่ควรเพ่งเล็งเด็กว่าเป็นเด็กที่บกพร่องทางด้านใดด้านหนึ่งและไม่ควรเอาใจใส่เด็กเพียงคนใดคนหนึ่งจนเกินสมควร  จะทำให้เด็กคนอื่นๆเกิดคำถามว่าคุณครูทำไมอะไรๆก็ต้องเป็นเด็กคนนั้นคนเดียวตลอด จะทำให้เด็กคนอื่นๆเกิดอาการน้อยใจ
     การเข้าใจภาวะปกติว่าเด็กทุกคนนั้นค่อนข้างคล้ายกันมากกว่าต่างกันและคุณครูต้องพยายามปรับความคิดความรู้สึกหรือทัศนคติที่มีต่อเด็กให้เท่าเทียมกัน รู้จักเด็กหมดทุกคนและมองเด็กให้เป็นเด็ก มองถึงบุคลิก กริยาของเด็กและจดจำเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็กให้มากที่สุด เด็กจะรู้สึกดีและปลื้มที่ครูจำเขาได้และเมื่อครูจดจำเด็กได้ก็สามารถคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้าได้ และจะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้
    วุฒิภาวะของเด็กแต่ละช่วงวัยจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากเท่าไหร่ แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ แรงจูงใจ คนเป็นครูก็ต้องพยายามสร้างแรงจูงใจให้กับเด็ก เช่น การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน กิจกรรมที่เกิดจากการระดมความคิดของเด็กเป็นต้น
     การสอนโดยบังเอิญเด็กพิเศษจะชอบมาก  คือ การตอบคำถามเมื่อเด็กสงสัยการสอนแบบนี้มักจะเกิดขึ้นขณะที่ครูจัดกิจกรรมเป็นส่วนใหญ่และการที่เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น  อุปกรณ์ที่ดีของเล่นที่ดีต้องไม่มีวิธีการล่นที่ตายตัว เช่น แป้งโดว์ บล็อก โดมิโน่  ของเล่นที่ตายตัวเช่น จับคู่ภาพ จิกซอร์ ตุ๊กตา 
      ตารางประจำวัน  เด็กพิเศษมักไม่ชอบให้เปลี่ยนกิจวัตรประจำวันของพวกเขา ข้อดีของตารางนี้ คือ เด็กทราบล่วงหน้าว่าเขาจะต้องทำอะไรบ้าง เด็กจะได้เตรียมความพร้อมและมั่นใจที่จะมาเรียน คนเป็นครูก็ต้องให้โอกาสเด็กไม่ว่าจะเป็นเด็กปกติหรือเด็กพิเศษเด็กทุกคนควรได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน
     
หมายเหตุ

* ความคงเส้นคงวา  ตอนต้นเทอมยังไง ปลายเทอมก็อย่างนั้น
* สีไม้ไม่เหมาะในกรใช้สอนเด็กปฐมวัย
* ห้องเรียนรวมต้องมีขีดจำกัดให้น้อยที่สุด
* การสอนแบบก้าวไปข้างหน้า คือ เด็กกระทำเองเป้นขั้นตอน
* การสอนแบบย้อนมาจากข้างหลัง คือ ครูทำให้เด็กดูและเด็กจะทำเองในขั้นตอนสุดท้าย





บรรยากาศในชั้นเรียน












การประเมิน

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงต่อเวลา  เเต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย มีการจดบันทึก ขณะที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน

เข้าเรียนตรงต่อเวลา  เเต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย มีคุยนอกเรื่องกันบ้างเล็กน้อย

ประเมินอาจารย์

เข้าสอนก่อนเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีเทคนิคการสอนที่ทำให้นักศึกษาเข้าใจได้ง่าย